วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มเรียน 101 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

ความรู้ที่ได้รับ

สัปดาห์นี้อาจารย์ให้มาเรียนรวมกับกลุ่มตอนบ่ายเนื่องจากอาจารย์ติดประชุมในช่วงเช้า และได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา ในเรื่อง

รูปแบบการจัดการศึกษา 

  1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
หัวข้อที่สำคัญในสัปดาห์นี้คือ การศึกษาแบบเรียนร่วม และการศึกษาแบบเรียนรวม นั้น มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร

การศีกษาแบบเรียนร่วม แบ่งเป็น เรียนร่วมแบบบางเวลา และเรียนร่วมแบบเต็มเวลา
  1. การเรียนร่วมบางเวลา คือ การนำเด็กพิเศษที่มีองค์กร ดูแลอยู่แล้วมาเรียนร่วมกับเด็กปกติในบางเวลา และเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
  2. การเรียนร่วมเต็มเวลา คือ การจัด ให้เด็กพิเศษเรียนอยู่กับเด็กปกติตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแต่เด็กที่สามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้ต้องมีอาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การที่เด็กพิเศษมาเรียนกับเด็กปกติตั้งแต่ต้นเทอม เหมือนกับเด็กปกติ ในโรงเรียนปกติ และเรียนเหมือนปกติ โดยไม่มีองค์กรใดดูและอยู่ 

เพราะฉะนั้น ความแตกต่างระหว่าง การเรียนร่วม กับการเรียนรวม คือ 
การเรียนร่วม คือเด็กยังอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กร และมาเรียนกับเด็กปกติ บางกิจกรรม
การเรียนรวมคือ เด็กใช้ชีวิตอยู่ใน โรงเรียนร่วมกับเด็กปกติตั้งแต่เปิดเทอม เหมือนนักเรียนทั่วไปคนนึง




กิจกรรมในห้องเรียน 
การร้องเพลงที่อาจารย์นำมาให้เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นเพลงที่ สากลสำหรับเด็กปฐมวัย ที่สามารถนำไปร้องกับเด็กปฐมวัยได้ทุกโรงเรียน คือเพลง
  1. นม
  2. อาบน้ำ
  3. แปรงฟัน
  4. พี่น้องกัน 
  5. มาโรงเรียน




วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20
ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

สัปดาห์นี้ อาจารย์ให้ทำข้อสอบ Pretest เพื่อทดสอบว่าเรามีความรู้มากน้อยเพียงใด และเป็นวิชาต่อเนื่องจากวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมทั้งเฉลยข้อสอบเป็นการทบทวนเนื้อหา เตรียมความพร้อมในการเรียนในวิชา

หลังจากนั้นอาจารย์ได้เฉลยข้อสอบที่ทำไปเมื่อเทอมที่แล้วและนำมาเชื่อมโยงกับวิชาในปัจจุบัน