วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การประเมิน


การประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ตนเอง

สำหรับรายวิชานี้ เป็นรายวิชาที่สนุก และน่าสนใจ มีความจำเป็นในการใช้ในอนาคต ควรค่าแก่การจดจำ และศึกษา เพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กพิเศษ  ส่วนตัวแล้ว ตั้งใจเรียนทุกครั้ง ร่วมทำกิจกรรมทุกอย่างในการเรียน ไม่ค่อยพูดคุยกับเพื่อน แต่ยังขาดการรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายบางงาน ซึ่งจะพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคต

เพื่อนร่วมชั้น 
 เพื่อนๆมีความเป็นกันเอง ตลอดมา ในการเรียนทั้งเทอม และรายวิชานี้ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และมีความสนุกสนานในการเรียน ทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่ตึงเครียด และรู้สึก เป็นกันเองในกลุ่มเรียนนี้ มีความประทับใจต่อทุกคนในชั้นเรียน และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเพื่อนร่วมชั้นคือ การพูดคุยอย่างสนุกสนาน และ ตั้งใจเรียน สามารถเข้าใจในสิ่งที่ครูพูด และมอบหมายงาน

อาจารย์ 
อาจารย์เป็นคนน่ารัก  เป็นที่รักของนักศึกษาทุกคนเสมอมา และมีเทคนิคการสอนที่ไม่แตกต่างมากแต่สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ตนสอนได้อย่างชัดเจน ชอบที่แจกชีท ก่อนเรียนเพื่อทบทวนความรู้ และ ไม่ต้องจดจ่อ ในการจดบันทึก ทำให้เราสามารถ ฟัง และเข้าใจที่อาจารยพูด โดยไม่เครียด




บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  27/04/58
เรียนครั้งที่ 14  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี

ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย เป็นการชดเชย โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบร้องเพลง สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการจับฉลาก
เกณฑ์การให้คะแนน
ไม่ดูเนื้อร้อง = 5 คะแนน
ดูเนื้อร้อง = 4 คะแนน
ดูเนื้อร้องและให้เพื่อนช่วยร้องไปพร้อมกัน = 3 คะแนน

ข้าพเจ้าจับได้เพลง อาบน้ำ ซู่ซ่า


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  23/04/58
เรียนครั้งที่ 13  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ
1. อาจารย์ให้นักศึกษาเล่นกิจกรรมคำถามจิตวิทยา
2.โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) IEP
แผน IEP

  •  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  •  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP

  •  คัดแยกเด็กพิเศษ
  •  ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  •  ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
  • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • เริ่มเขียนแผน IEP

แผนIEP ประกอบด้วย

  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  •  เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

  •  ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  •  ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  •  ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  •  ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  •  ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  •  ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว   - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
•กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
      –น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
      –น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
      –น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
•ใคร  อรุณ
•อะไร  กระโดดขาเดียวได้
•เมื่อไหร่ / ที่ไหน  กิจกรรมกลางแจ้ง
•ดีขนาดไหน  กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

•ใคร  ธนภรณ์
•อะไร  นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
•เมื่อไหร่ / ที่ไหน  ระหว่างครูเล่านิทาน
•ดีขนาดไหน  ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.)ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.)ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.)อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
การจัดทำ IEP
1.) การรวบรวมข้อมูล
2.) การจัดทำแผน
3.) การใช้แผน
4.) การประเมิน

 จากการเรียนการสอนอาจารย์มีงานให้ทำเป็นงานกลุ่ม คือการเขียนแผนIEP มา1แผน


















บันทึกอนุทินครั้งที่12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  09/04/58
เรียนครั้งที่ 12  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ
1. พูดคุยเรื่องการสอบ พร้อมอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในแต่ล่ะข้อว่าควรตอบแบบใดถึงจะดีและมีความถูกต้องที่สุด
2. อาจารย์แจกกระดาษเพลง พร้อมสอนร้องเพลง
3. เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในส่วนของทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย

  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้    
  •  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”                   
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  •  อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  •  จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว

  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น    
  •   ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก     
  • ศิลปะ
  •  มุมบ้าน     
  •  ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  •  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ

  •  จากการสนทนา                    
  •   เมื่อเช้าหนูทานอะไร  
  •   จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน                       -

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  •  จัดกลุ่มเด็ก
  •  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด




บันทึกอนุทินครั้งที่11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  26/03/58
เรียนครั้งที่ 11  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ในวันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน เป็นข้อเขียน ทั้งหมด5ข้อ เต็ม10คะแนน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19/03/58
เรียนครั้งที่ 10  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ
1. กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อผ่อนคลาย
2การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  •   เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
  •    การกินอยู่     
  •   การเข้าห้องน้ำ
  •   การแต่งตัว    
  •   กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง     
  •  อยากทำงานตามความสามารถ
  •  เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

  •  การได้ทำด้วยตนเอง   
  • เชื่อมั่นในตนเอง   
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

เมื่อเด็กทำเอง

  •  ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  •  ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  •  ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ

ควรช่วยเหลือเมื่อไร

  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  •  หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  •  เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่น (อายุ 3-4 ปี)
  การแต่งตัว

  •       ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
  •      ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
  •       เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้

  การกินอาหาร

  •  ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
  •   รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
  •    กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด

  การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ

  •       ชอบอาบน้ำเอง
  •       เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
  •       อาบไม่สะอาด
  •      ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

  •  แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
กิจกรรมระบายสีเป็นวงกลมตามใจชอบ
  •  อาจารย์แจกกระดาษและสีเทียนให้กับนักศึกษาทุกคน
  • วาดเป็นวงกลม เลือกสี โดยการวนสีเป็นวงกลมหลายๆชั้น 
  • เสร็จแล้วใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามที่เราวาดไว้
  •  นำวงกลมของทุกคนในห้องมาติดรวมกันเป็นต้นไม้





บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  12/03/58
เรียนครั้งที่ 9  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี

ความรู้ที่ได้รับและกิจกรรม
 อาจารย์ให้เล่นเกมเพื่อผ่อนคลายและสร้างบรรยากาศที่คุ้นเคยในห้องเรียนและได้ทบทวนบทเพลงสำหรับเด็กที่อาจารย์เคยแจก ในสัปดาห์ก่อนๆ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษทักษะทางด้านภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
- ถามหาสิ่งต่างๆ
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่น


การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น   - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง   - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ”  “ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
- เสียงของครูโดยหันมามอง
- ต่อคำถาม "เอาอะไร"ด้วยการชี้
- ต่อประโยค "ช่วยเอาให้ที"
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

4. กิจกรรมศิลปะ-ดนตรีบำบัด
- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- เมื่ออาจารย์เปิดเพลง วาดยังไงก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- เสร็จแล้ว ให้ระบายสีไปที่ช่องปิดตายให้ครบทุกช่อง