วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การประเมิน
การประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ตนเอง
สำหรับรายวิชานี้ เป็นรายวิชาที่สนุก และน่าสนใจ มีความจำเป็นในการใช้ในอนาคต ควรค่าแก่การจดจำ และศึกษา เพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กพิเศษ ส่วนตัวแล้ว ตั้งใจเรียนทุกครั้ง ร่วมทำกิจกรรมทุกอย่างในการเรียน ไม่ค่อยพูดคุยกับเพื่อน แต่ยังขาดการรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายบางงาน ซึ่งจะพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคต
เพื่อนร่วมชั้น
เพื่อนๆมีความเป็นกันเอง ตลอดมา ในการเรียนทั้งเทอม และรายวิชานี้ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และมีความสนุกสนานในการเรียน ทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่ตึงเครียด และรู้สึก เป็นกันเองในกลุ่มเรียนนี้ มีความประทับใจต่อทุกคนในชั้นเรียน และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเพื่อนร่วมชั้นคือ การพูดคุยอย่างสนุกสนาน และ ตั้งใจเรียน สามารถเข้าใจในสิ่งที่ครูพูด และมอบหมายงาน
อาจารย์
อาจารย์เป็นคนน่ารัก เป็นที่รักของนักศึกษาทุกคนเสมอมา และมีเทคนิคการสอนที่ไม่แตกต่างมากแต่สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ตนสอนได้อย่างชัดเจน ชอบที่แจกชีท ก่อนเรียนเพื่อทบทวนความรู้ และ ไม่ต้องจดจ่อ ในการจดบันทึก ทำให้เราสามารถ ฟัง และเข้าใจที่อาจารยพูด โดยไม่เครียด
บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 27/04/58
เรียนครั้งที่ 14 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย เป็นการชดเชย โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบร้องเพลง สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการจับฉลาก
เกณฑ์การให้คะแนน
ไม่ดูเนื้อร้อง = 5 คะแนน
ดูเนื้อร้อง = 4 คะแนน
ดูเนื้อร้องและให้เพื่อนช่วยร้องไปพร้อมกัน = 3 คะแนน
ข้าพเจ้าจับได้เพลง อาบน้ำ ซู่ซ่า
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 27/04/58
เรียนครั้งที่ 14 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย เป็นการชดเชย โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบร้องเพลง สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการจับฉลาก
เกณฑ์การให้คะแนน
ไม่ดูเนื้อร้อง = 5 คะแนน
ดูเนื้อร้อง = 4 คะแนน
ดูเนื้อร้องและให้เพื่อนช่วยร้องไปพร้อมกัน = 3 คะแนน
ข้าพเจ้าจับได้เพลง อาบน้ำ ซู่ซ่า
บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 23/04/58
เรียนครั้งที่ 13 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับ
1. อาจารย์ให้นักศึกษาเล่นกิจกรรมคำถามจิตวิทยา
2.โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) IEP
แผน IEP
การเขียนแผน IEP
แผนIEP ประกอบด้วย
ประโยชน์ต่อเด็ก
ประโยชน์ต่อครู
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
•กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
–น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
–น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
–น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
•ใคร อรุณ
•อะไร กระโดดขาเดียวได้
•เมื่อไหร่ / ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
•ดีขนาดไหน กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
•ใคร ธนภรณ์
•อะไร นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
•เมื่อไหร่ / ที่ไหน ระหว่างครูเล่านิทาน
•ดีขนาดไหน ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.)ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.)ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.)อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
การจัดทำ IEP
1.) การรวบรวมข้อมูล
2.) การจัดทำแผน
3.) การใช้แผน
4.) การประเมิน
จากการเรียนการสอนอาจารย์มีงานให้ทำเป็นงานกลุ่ม คือการเขียนแผนIEP มา1แผน
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 23/04/58
เรียนครั้งที่ 13 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับ
1. อาจารย์ให้นักศึกษาเล่นกิจกรรมคำถามจิตวิทยา
2.โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) IEP
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- เริ่มเขียนแผน IEP
แผนIEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
•กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
–น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
–น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
–น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
•ใคร อรุณ
•อะไร กระโดดขาเดียวได้
•เมื่อไหร่ / ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
•ดีขนาดไหน กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
•ใคร ธนภรณ์
•อะไร นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
•เมื่อไหร่ / ที่ไหน ระหว่างครูเล่านิทาน
•ดีขนาดไหน ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.)ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.)ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.)อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
การจัดทำ IEP
1.) การรวบรวมข้อมูล
2.) การจัดทำแผน
3.) การใช้แผน
4.) การประเมิน
จากการเรียนการสอนอาจารย์มีงานให้ทำเป็นงานกลุ่ม คือการเขียนแผนIEP มา1แผน
บันทึกอนุทินครั้งที่12
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 09/04/58
เรียนครั้งที่ 12 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับ
1. พูดคุยเรื่องการสอบ พร้อมอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในแต่ล่ะข้อว่าควรตอบแบบใดถึงจะดีและมีความถูกต้องที่สุด
2. อาจารย์แจกกระดาษเพลง พร้อมสอนร้องเพลง
3. เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในส่วนของทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
ช่วงความสนใจ
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
ความจำ
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 09/04/58
เรียนครั้งที่ 12 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับ
1. พูดคุยเรื่องการสอบ พร้อมอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในแต่ล่ะข้อว่าควรตอบแบบใดถึงจะดีและมีความถูกต้องที่สุด
2. อาจารย์แจกกระดาษเพลง พร้อมสอนร้องเพลง
3. เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในส่วนของทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน -
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
บันทึกอนุทินครั้งที่11
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 26/03/58
เรียนครั้งที่ 11 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ในวันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน เป็นข้อเขียน ทั้งหมด5ข้อ เต็ม10คะแนน
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 26/03/58
เรียนครั้งที่ 11 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ในวันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน เป็นข้อเขียน ทั้งหมด5ข้อ เต็ม10คะแนน
บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19/03/58
เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับ
1. กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อผ่อนคลาย
2การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
การสร้างความอิสระ
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อเด็กทำเอง
ควรช่วยเหลือเมื่อไร
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่น (อายุ 3-4 ปี)
การแต่งตัว
การกินอาหาร
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19/03/58
เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับ
1. กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อผ่อนคลาย
2การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การกินอยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การแต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
เมื่อเด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
ควรช่วยเหลือเมื่อไร
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่น (อายุ 3-4 ปี)
การแต่งตัว
- ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
- ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
- เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
การกินอาหาร
- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
- รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
- อาบไม่สะอาด
- ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
- อาจารย์แจกกระดาษและสีเทียนให้กับนักศึกษาทุกคน
- วาดเป็นวงกลม เลือกสี โดยการวนสีเป็นวงกลมหลายๆชั้น
- เสร็จแล้วใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามที่เราวาดไว้
- นำวงกลมของทุกคนในห้องมาติดรวมกันเป็นต้นไม้
บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 12/03/58
เรียนครั้งที่ 9 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับและกิจกรรม
อาจารย์ให้เล่นเกมเพื่อผ่อนคลายและสร้างบรรยากาศที่คุ้นเคยในห้องเรียนและได้ทบทวนบทเพลงสำหรับเด็กที่อาจารย์เคยแจก ในสัปดาห์ก่อนๆ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษทักษะทางด้านภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
- ถามหาสิ่งต่างๆ
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่น
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
- เสียงของครูโดยหันมามอง
- ต่อคำถาม "เอาอะไร"ด้วยการชี้
- ต่อประโยค "ช่วยเอาให้ที"
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
4. กิจกรรมศิลปะ-ดนตรีบำบัด
- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- เมื่ออาจารย์เปิดเพลง วาดยังไงก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- เสร็จแล้ว ให้ระบายสีไปที่ช่องปิดตายให้ครบทุกช่อง
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 12/03/58
เรียนครั้งที่ 9 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ความรู้ที่ได้รับและกิจกรรม
อาจารย์ให้เล่นเกมเพื่อผ่อนคลายและสร้างบรรยากาศที่คุ้นเคยในห้องเรียนและได้ทบทวนบทเพลงสำหรับเด็กที่อาจารย์เคยแจก ในสัปดาห์ก่อนๆ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษทักษะทางด้านภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
- ถามหาสิ่งต่างๆ
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่น
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
- เสียงของครูโดยหันมามอง
- ต่อคำถาม "เอาอะไร"ด้วยการชี้
- ต่อประโยค "ช่วยเอาให้ที"
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
4. กิจกรรมศิลปะ-ดนตรีบำบัด
- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- เมื่ออาจารย์เปิดเพลง วาดยังไงก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- เสร็จแล้ว ให้ระบายสีไปที่ช่องปิดตายให้ครบทุกช่อง
วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มเรียน 102 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
****** สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ ติดธุระ ต้องเข้าร่วมประชุม ******
กลุ่มเรียน 102 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
****** สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ ติดธุระ ต้องเข้าร่วมประชุม ******
บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหหรับเด็กพิเศษ
กลุ่มเรียน 102 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิ่น
********* สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เป็นการสอบกลางภาค ของมหาวิทยาลัย******
กลุ่มเรียน 102 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิ่น
********* สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เป็นการสอบกลางภาค ของมหาวิทยาลัย******
บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มเรียน 102 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้เล่นเกมส์ รถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเป็นคำถามทางจิตวิทยา เพื่อให้ได้คลายเครียดกันก่อนเล็กน้อย
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะด้านสังคม เพราะเด็กพิเศษที่ขาดทักษะด้านสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และการที่เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมดี ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่า เด็กจะมีพัฒนาการต่างๆที่ดี และมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสื่อกลางทางสังคมที่ทำให้เด็กได้สนใจกันเอง และสำคัญในการเรียนรู้ทักษะที่สำคัญทางสังคม ซึ่งแรกๆ เด็กพิเศษจะไม่เห็น คนอื่นๆเป็นเพื่อน แต่จะเห็นเป็นสิ่งของที่น่าสำรวจ ผลัก ดึง สัมผัส
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษ มักจะไม่รู้วิธีเล่น ไม่กล้าเล่น อยากเ่น แต่ ไม่รู้จะเล่นอย่างไร ครูควรมีบทบาท ที่คอยชักนำ เริ่มต้น และ สังเกตแต่ละคน อย่างมีระบบ และจดบันทึก เพื่อทำแผน IEP
นอกจากนี้ ครูควรมีการวางแผนที่จะพูดคุยกับเด็กพิเศษ เฝ้ามองอยู่อย่างสนใจ ยิ้มพยักหน้า ถ้าเด้กหันมาหาครู และมีการชักนำให้เด็กๆเล่นร่วมกัน โดยไม่ใช้ข้อบกพร่องของเด็กพิเศษ เป็นเครื่องต่อรองในการเล่นร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมหลังการสอน
กลุ่มเรียน 102 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้เล่นเกมส์ รถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเป็นคำถามทางจิตวิทยา เพื่อให้ได้คลายเครียดกันก่อนเล็กน้อย
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะด้านสังคม เพราะเด็กพิเศษที่ขาดทักษะด้านสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และการที่เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมดี ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่า เด็กจะมีพัฒนาการต่างๆที่ดี และมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสื่อกลางทางสังคมที่ทำให้เด็กได้สนใจกันเอง และสำคัญในการเรียนรู้ทักษะที่สำคัญทางสังคม ซึ่งแรกๆ เด็กพิเศษจะไม่เห็น คนอื่นๆเป็นเพื่อน แต่จะเห็นเป็นสิ่งของที่น่าสำรวจ ผลัก ดึง สัมผัส
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษ มักจะไม่รู้วิธีเล่น ไม่กล้าเล่น อยากเ่น แต่ ไม่รู้จะเล่นอย่างไร ครูควรมีบทบาท ที่คอยชักนำ เริ่มต้น และ สังเกตแต่ละคน อย่างมีระบบ และจดบันทึก เพื่อทำแผน IEP
นอกจากนี้ ครูควรมีการวางแผนที่จะพูดคุยกับเด็กพิเศษ เฝ้ามองอยู่อย่างสนใจ ยิ้มพยักหน้า ถ้าเด้กหันมาหาครู และมีการชักนำให้เด็กๆเล่นร่วมกัน โดยไม่ใช้ข้อบกพร่องของเด็กพิเศษ เป็นเครื่องต่อรองในการเล่นร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมหลังการสอน
- ร้องเพลง
- กิจกรรมเส้นและจุด
ขั้นตอนทำกิจกรรมเส้นและจุด
- ให้ นักเรียนจับคู่กัน และเลือกสีที่ตนชอบคนละ 1 แท่ง
- แบ่งหน้าที่กันว่าใครจะลากเส้น และใครจะวาดจุด ลงบนการะดาษ
- ฟังเพลงที่ครูเปิด และให้ คนลากเส้นไปตามจังหวะเพลง และอีกคนก็ระบายสีลงในจุดกลมๆที่เพื่อนลากออกมา
- เมื่อเพลงจบ ให้เราสังเกตว่า ที่เราลากเส้นลงไป มีรูปอะไรบ้าง และลากเส้นให้ชัดเจนพร้อมระบายสี
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
เวลา 8.30-12.20 น. วันพฤหัสบดี กลุ่ม 101
กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้ว ให้เราวาดรูปมือที่อยู่ในถุงมือ โดยให้มีรายละเอียดเหมือนมือของเรา ที่อยู่ในถุงมือให้มากที่สุด
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
เวลา 8.30-12.20 น. วันพฤหัสบดี กลุ่ม 101
กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้ว ให้เราวาดรูปมือที่อยู่ในถุงมือ โดยให้มีรายละเอียดเหมือนมือของเรา ที่อยู่ในถุงมือให้มากที่สุด
สิ่งที่ได้จากกิจกรรม คือ เปรียบมือของเรา กับเด็ก ว่า ขนาดมือของเรา ที่เราเห็นทุกวัน มา เท่าอายุ เรายังจำได้ไม่หมด และพฤติกรรมเด็กก็เช่นกัน เราเห็นได้ไม่เท่ามือเรา เราควรจดบันทึกทันที ไม่งั้นเราอาจลืม และจดได้ผิดพลาด ใส่รายละเอียดไม่ครบ
ความรู้ที่ได้รับ
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ก่อนอื่นครูควรปรับทัศนคติของตน ให้มองเด็กทุกคน เป็นเด็กเหมือนกัน เพื่อความเท่าเทียม และไม่ให้เด็กเกิดการน้อยใจ หรือ สงสัย ว่าทำไม ถึงสนใจเด็กคนอื่นๆ หรือสนใจตัวเด็กคนนี้มากเกินไป
นอกจากนี้ครูควรได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้โดย การเข้าอบรมระยะสั้น สัมมนา หรือศึกษาจากสื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้ และมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ช่วยให้ครูมองเห็นความแตกต่างของแต่ละคนง่ายขึ้น
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มเข้าหาครู
- เด็กเข้าหาครูมาก ยิ่งเป็นโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- มีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- มีความตั้งใจในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุก
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
- เด็กพิเศษไม่สารมารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นข้นตอน
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
- การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
- คำนึงความพอเหมาะของเวลา
ความยืดหยุ่น
- สามารถแก้แนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับความสามารถของเด็กแต่ละคน
- ครูต้องสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำขอบุคคลในอาชีพอื่น
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้
- เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
กิจกรรมหลังเรียน
ในสัปดาห์นี้ เพื่อนๆในห้องร่วมใจกัน เซอไพรส์ วันเกิดให้กับอาจารย์ ย้อนหลัง และได้มีโอกาสในการเขียนคำอวยพรแด่อาจารย์ เกิดความประทับใจในชั้นเรียน
บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิ่น
เวลา 8.30-12.20 น. วันพฤหัสบดี กลุ่ม 101
กิิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปดอกไม้ที่อาจารย์กำหนดมาให้ ให้เหมือนมากที่สุด ภายในเวลา 40 นาที ภาพที่อาจารย์กำหนดคือ รูปดอกหางนกยูง และหลงจากนั้นให้อธิบายรายละเอียดว่าเห็นอะไรในรูปนั้น ซึ่งเปรียบเทียบกับการประเมินว่าประเมินแบบไหน ถูกต้องที่สุด
ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
- ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก เนื่องจากการวินิจฉัยเด็ก เป็นการดูอาการเพียงบางอย่าง อาจเป็นการเข้าใจผิด ซึ่งจะส่งผลเสียให้กับเด็กและครูเอง
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ เพราะพ่อแม่ย่อมทราบอาการของบุตรหลานของตนเอง จึงจะเป็นการตอกย้ำความรู้สึกของผู้ปกครอง แต่ควรรายงานพฤติกรรมเชิงบวกของเด็กให้ผู้ปกครองฟัง และค่อยบอกสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ในภายหลัง
- การสังเกตอย่างมีระบบ
- การตรวจสอบ เพื่อทราบถึงพฤติกรรมเด็ก เพื่อเป็นแนวทางสำคัญ ที่ทำให้ทั้งครูและผู้ปกครอง เข้าใจเด็กมากขึ้น
ข้อควรระวัง
- ต้องไวต่อความรู้สึก และตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ต้องประเมินน้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมของเด็กอาจไม่ปรากฏชัดเจนเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
- การนับแบบง่ายๆ
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การเกิดพฤติกรรมของเด็กบางอย่างมากเกินไป
- ระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่า ว่า มีกี่ชนิด
- พฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความรอบคอบ
- ต้องสังเกตว่า พฤติกรรมบางอย่างไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
กิจกรรมหลังรียน
กิจกรรมร้องเพลง อาจารย์ได้แจกเนื้อเพลงให้นักศึกษา และร่วมกันฝึกร้อง ชื่อเพลงว่า ฝึกกายบริหาร
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มเรียน 101 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ไปสัมนาวิชการบริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา
วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มเรียน 101 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20 น.
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
ความรู้ที่ได้รับ
สัปดาห์นี้อาจารย์ให้มาเรียนรวมกับกลุ่มตอนบ่ายเนื่องจากอาจารย์ติดประชุมในช่วงเช้า และได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา ในเรื่อง
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
หัวข้อที่สำคัญในสัปดาห์นี้คือ การศึกษาแบบเรียนร่วม และการศึกษาแบบเรียนรวม นั้น มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร
การศีกษาแบบเรียนร่วม แบ่งเป็น เรียนร่วมแบบบางเวลา และเรียนร่วมแบบเต็มเวลา
- การเรียนร่วมบางเวลา คือ การนำเด็กพิเศษที่มีองค์กร ดูแลอยู่แล้วมาเรียนร่วมกับเด็กปกติในบางเวลา และเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
- การเรียนร่วมเต็มเวลา คือ การจัด ให้เด็กพิเศษเรียนอยู่กับเด็กปกติตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแต่เด็กที่สามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้ต้องมีอาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การที่เด็กพิเศษมาเรียนกับเด็กปกติตั้งแต่ต้นเทอม เหมือนกับเด็กปกติ ในโรงเรียนปกติ และเรียนเหมือนปกติ โดยไม่มีองค์กรใดดูและอยู่
เพราะฉะนั้น ความแตกต่างระหว่าง การเรียนร่วม กับการเรียนรวม คือ
การเรียนร่วม คือเด็กยังอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กร และมาเรียนกับเด็กปกติ บางกิจกรรม
การเรียนรวมคือ เด็กใช้ชีวิตอยู่ใน โรงเรียนร่วมกับเด็กปกติตั้งแต่เปิดเทอม เหมือนนักเรียนทั่วไปคนนึง
กิจกรรมในห้องเรียน
การร้องเพลงที่อาจารย์นำมาให้เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นเพลงที่ สากลสำหรับเด็กปฐมวัย ที่สามารถนำไปร้องกับเด็กปฐมวัยได้ทุกโรงเรียน คือเพลง
- นม
- อาบน้ำ
- แปรงฟัน
- พี่น้องกัน
- มาโรงเรียน
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี เวลา 8.30-12.20
ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
สัปดาห์นี้ อาจารย์ให้ทำข้อสอบ Pretest เพื่อทดสอบว่าเรามีความรู้มากน้อยเพียงใด
และเป็นวิชาต่อเนื่องจากวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
พร้อมทั้งเฉลยข้อสอบเป็นการทบทวนเนื้อหา เตรียมความพร้อมในการเรียนในวิชา
หลังจากนั้นอาจารย์ได้เฉลยข้อสอบที่ทำไปเมื่อเทอมที่แล้วและนำมาเชื่อมโยงกับวิชาในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)